Metabolic syndrome

Metabolic Syndrome ภัยเงียบสุขภาพ

Metabolic Syndrome

เอวหนา ลงพุง
อันตรายกว่าใส่เสื้อผ้าไม่สวย..

เพราะคุณอาจกำลังเกิดภาวะล้มเหลวของกระบวนการจัดการสารอาหารภายในหลอดเลือด หรือ Metabolic Syndrome

Metabolic​ Syndrome นำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรังที่ตามมา มีอะไรบ้าง?

ความดัน เบาหวาน ไขมัน ซึ่งเป็นสาเหตุการก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไต อัมพฤกษ์อัมพาต ตามมาได้ที่เราจะคุ้นเคยกับการได้ยินเกี่ยวกับการเกิดโรคกลุ่ม NCDs หรือบางคนเรียกกลุ่มโรคแพคเกจ เบาหวาน ความดัน ไขมัน ความดันโลหิตสูง หัวใจ และโรคไตโรคไหนเริ่มก่อน ไม่นานก็เรียกเพื่อนตามๆมา ว่าสาเหตุหลักมาจากพันธุกรรม บวกกับพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกายและการใช้ชีวิต

Metabolic Syndrome

แต่ในสภาวะปัจจุบัน​ของคนส่วนมากพบการเกิดโรค NCDs ได้แม้ไม่มีประวัติของคนในครอบครัวเป็นโรคเรื้อรังมาก่อน  แต่สาเหตุเกิดจากการเกิดภาวะ Metabolic Syndrome​โดยไม่ทันได้รู้ตัวจากวิถีการใช้ชีวิตการกิน การนอนหลับพักผ่อนไม่เป็นเวลา  ภาวะความเครียด นอนดึก ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เป็นต้นค่ะ

จะป้องกันการเกิด Metabolic Syndrome จะทำได้อย่างไร?

ก่อนอื่นอยากให้เข้าใจกระบวน Metabolism​ ซึ่งเป็นกระบวนการปกติของร่างกาย นั่นคือการนำเอาสารอาหารจากหลอดเลือด ไปใช้ประโยชน์ในเซลล์ อยากให้มองเห็นภาพนี้ค่ะว่า เวลาที่เราทานอาหาร เครื่องดื่มอะไรต่างๆเข้าไปในร่างกาย เริ่มจากการเคี้ยว กลื่นเข้าไปย่อยต่อในกระเพาะอาหาร เริ่มกระบวนการดูดซึมสารอาหารเข้าหลอดเลือดบริเวณกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ในรูปแบบสารเคมีต่างๆ น้ำตาล ไขมัน เกลือแร่ โดยกระบวนการ Metabolism จะเข้าไปจัดการสารอาหารในหลอดเลือดให้เปลี่ยนเป็นพลังงานให้กับร่างกายและในกระบวนการ Metabolism​ เองก็จะเกิดของเสียที่ตามมาด้วย

จะรู้ได้อย่างไร? ว่าเสี่ยงต่อภาวะเมแทบอลิกซินโดรม

สาเหตุหลักๆ ของคนที่มีแนวโน้มในการเกิดภาวะเมตาบอลิกซินโดรม ก็คือ อ้วนลงพุง รอบเอวหนา และภาวะการดื้อต่ออินซูลินจะพบมากในคนอ้วนลงพุง หรือได้รับยา, ฮอร์โมนบางชนิดค่ะ

metabolic syndrome

ในที่นี้ขอใช้เกณฑ์ของ The National Cholesterol Education Program Adult Treatment Panel III (NCEP ATP III) (2005)
ตามโรงพยาบาลกรุงเทพได้เขียนบทความเผยแพร่ลงในเว็บไซต์ของโรงพยาบาลเอง

เพื่อให้ง่ายต่อการประเมิน
โดยต้องมีความผิดปกติ 3 ใน 5 ข้อ ได้แก่
1.ความยาวรอบเอว
ชาย ≥ 36 นิ้ว = 90 เซนติเมตร
และหญิง ≥ 32 นิ้ว = 80 เซนติเมตร

2.ระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร ≥ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน

3.ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ≥ 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

4.ระดับ HDL คอเลสเตอรอล < 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในเพศชาย และ < 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในเพศหญิง

5.ระดับความดันโลหิต ≥ 130/85 มิลลิเมตรปรอท หรือได้รับยารักษาภาวะความดันโลหิตสูง

ความน่ากลัวของโรค เมแทบอลิกซินโดรม

กล่าวคือ เป็นโรคที่เป็นภัยเงียบ ไม่มีอาการบ่งชี้ล่วงหน้า จะรู้ตัวก็ต่อเมื่อมีอาการของหลอดเลือดอุดตันแล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่มีอาการของโรคร้ายแรงอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น เช่น หลอดเลือดสมองอุดตัน อัมพฤกษ์ หัวใจวาย หรืออาการผิดปกติอื่นๆ ตามแต่ตำแหน่งที่หลอดเลือดอุดตัน

ภาวะเมแทบอลิกซินโดรม
สามารถป้องกันตัวเองได้ เริ่มที่ลดความเสี่ยงของการเกิดโรค โดยการปรับพฤติกรรม
ที่ก่อให้เกิดโรคอ้วนลงพุง อันดับต้นๆได้
แนะนำให้ทำเลยค่ะ โดยเริ่มที่

1.เรื่องการกินอาหาร
เลี่ยงหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก ผลไม้หลากหลายสี เน้นกากใยสูงในมื้ออาหาร

2.การออกกำลังกาย
ช่วยเสริม เพิ่มกำลัง Metabolism กระบวนเตาเผาอาหารและการจัดการสารอาหารในหลอดเลือดของร่างกาย

3.การนอนหลับ​พักผ่อนเพียงพอ

4.เลี่ยงการสูบบุหรี่​ดื่มสุรา

5.การตรวจสุขภาพประจำปีค่ะ

การป้องกัน ย่อมดีกว่ามานั่งรักษาอาการเจ็บป่วยเรื้อรังที่หลังนะคะ
เริ่มที่วันนี้ตัดสินใจเข้ารับผิดชอบสุขภาพร่างกายของตัวเองก่อนได้เลยค่ะ

ด้วยรักและปรารถนาดี
ด้วยความห่วงใยค่า

MeHealth​ ​สุขภาพดีเริ่มที่ตัวเรา
ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยือนค่ะ

@Line เพื่อสอบถามพูดคุยกันได้ที่

เพิ่มเพื่อน

Metabolic Syndrome ภัยเงียบสุขภาพ Read More »