ดูแลสุขภาพ

3 พื้นฐานการดูแลสุขภาพ ต้องใส่ใจ ไม่ให้ขาดสมดุล

พื้นฐานการดูแลสุขภาพ

ถ้าพูดถึงการดูแลสุขภาพ คงต้องแบ่งการดูแลสุขภาพออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือก่อนเจ็บป่วย และหลังเจ็บป่วยแล้ว การดูแลสุขภาพของแต่ละช่วงก็คงไม่เหมือนกันวัตถุประสงค์ของการดูแลสุภาพก็ต่างกัน

ยกตัวอย่างเช่น การดูแลสุภาพก่อนเป็นเบาหวาน เพื่อป้องกันไม่เกิดโรคเบาหวาน ส่วนเป็นเบาหวานแล้ว การดูแลสุขภาพเพื่อชะลอและป้องกันโรคแทรกซ้อนที่เกิด เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคไต โรคตับ เป็นต้นค่ะ

ซึ่งวันนี้จึงถือโอกาส เอา 3 พื้นฐานการดูแลสุขภาพ ที่เราเองต้องใส่ใจ และดูแลไม่ให้ขาดการสมดุลค่ะ

3 พื้นฐานการดูแลสุขภาพ

1.สารต้านอนุมูลอิสระ ( ANTIOXIDANT)

antioxidant สารต้านอนุมูลอิสระสารต้านอนุมูลอิสระ หากร่างกายมีสารต้านอนุมูลอิสระที่หลากหลายและมากมายเท่าไหร่ ยิ่งทำให้มีสุขภาพดีและมีชีวิตยืนยาวมากขึ้นเท่านั้น

เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระจะทำหน้าที่ขัดขวางการเกิดปฎิกริยาการเกิดสนิทของเซลล์ (Oxidation) ที่เกิดจากการเผาผลาญภายในร่างกายของเราเอง การหายใจเข้า ออกก็เกิดการ oxidation ที่ก่อให้เกิดอนุมูลิสระ หรือสนิมในเซลล์ของร่างกายเราได้ เซลล์ต่างๆ จะเสื่อมลงเรื่อยๆแบบไม่มีวันหยุด ก็จะเสื่อมสภาพถดถอยลง แก่ลง ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องมี สารต้านอนุมูลอิสระเพื่อ
1.ป้องการเกิด
2.ชะลอการเกิดอนุมูลอิสระ
3.ทำลายอนุมูลอิสระในร่างกาย

อนุมูลอิสระ
อนุมูลอิสระ เกิดจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกร่างกาย มีมากก็ทำลายโครงสร้าง และหน้าที่ของเซลล์มากและเร็ว ก่อให้เกิดความผิดปกติ เซลล์เปลี่ยนแปลงรูปร่าง เซลล์ผิดปกติ เซลล์ถูกทำลาย เสื่อมได้เร็วขึ้น อนุมูลอิสระเป็นต้นเหตุของโรคเรื้อรังมากมาย “ โรคเรื้อรังคร่าชีวิตคนทั่วโรคเฉลี่ย วินาทีละ 1 คน”

อนุมูลอิสระ เกิดจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกร่างกาย  ความเครียด ,คลื่นไฟฟ้าแม่เหล็ก,แสงแดด ,มลพิษ มลภาวะ สารเคมี,ยาบางชนิด,อาหาร,รังสี,เชื้อโรค เป็นต้น

สารต้านอนุมูลอิสระ จำเป็นต่อการชะลอสุขภาพ
ถามว่าแล้วเราจะสารมารถเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระให้กับร่างกายได้อย่างไรบ้าง?

จริงๆแล้วการเลือกรับประทานอาหารจากแหล่งที่มีสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มในมื้ออาหาร ทานผักผลไม้หลากหลายสี  นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ห่างไกลมลพิษ มลภาวะต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นรังสี สารเคมี  ก็น่าจะเพียงพอต่อกระบวนการป้องกัน ชะลอ และซ่อมแซมร่างกายจากอนุมูลอิสระได้

แต่ในรายที่ต้องเผชิญกับฝุ่นควัน มลภาวะทางอากาศ บางคนสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า พักผ่อนน้อย ขาดการออกกำลังกาย ไม่ได้พิถีพิถันในการเลือกรับประทานอาหาร เครียดสะสม โดนแดดบ่อย  อาจต้องการวิตามินเสริม เพื่อเป็นการต่อต้านอนุมูลอิสระ มากกว่าคนที่ดูแลตนเองเป็นอย่างดีค่ะ ดังนั้นสารต้านอนุมูลอิสระจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการป้องกันโรคร้ายต่างๆ ซึ่งมีงานวิจัยมากมายที่รับรอง

2.วิตามิน แร่ธาตุ

วิตามิน-เกลือแร่

วิตามิน และแร่ธาตุ มีความสำคัญและจำเป็นต่อการรักษาสมดุลการทำงานของร่างกาย ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ หรือผลิตขึ้นเองได้ต้องได้รับจากการกินอาหาร ผัก ผลไม้ หรือการเสริมด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญและจำเป็นที่ร่างกายต้องได้รับ

5 วิตามินและแร่ธาตุ ที่ร่างกายไม่ควรขาดได้แก่ วิตามินซี, วิตามินดี,วิตามินเอ,วิตามินดี ,วิตามินอี

7 แร่ธาตุ ใน 18 ชนิด ที่ร่างกายขาดไม่ได้เลย คือแคลเซียม ไอโอดีน แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม เหล็ก และสังกะสี

วิตามิน จะทำงานไม่ได้เลยหากขาดแร่ธาตุเป็นส่วนผสมในการทำงาน เพื่อประสิทธิภาพในการดูแลร่างกาย และเช่นกันหากร่างกายมีแร่ธาตุ แต่ขาดวิตามินที่พร้อมส่งเสริมแร่ธาติให้มีประโยชน์กับร่างกาย ก็เปล่าประโยชน์

ยกตัวอย่างเช่น

วิตามิน D ทำงานควบคู่กับแร่ธาตุแคลเซียม เพื่อช่วยเรื่องกระดูกและฟัน โดยปกติร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้เมื่อได้รับแสงแดด สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับแสงแดด ร่างกายอาจสร้างวิตามินดีได้ไม่เพียงพอ ควรรับประทานอาหารประเภทธัญพืช เห็ด และดื่มนมที่เสริมวิตามินดีเป็นประจำ

วิตามิน A ทำงานร่วมกับแร่ธาตุอย่าง แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม และสังกะสีช่วยเรื่องสายตาและการมองเห็น การเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แหล่งของวิตามินเอในอาหาร ได้แก่ ผักโขม แครอท มันเทศ ฟักทอง มะละกอ มะม่วงสุก

วิตามิน B ต่างๆ ทำงานร่วมกับโคบอลต์ ทองแดง เหล็ก แมงกานีส โพแทสเซียม และโซเดียมด้วย

วิตามิน C ทำงานร่วมกับแร่ธาตุแคลเซียม โคบอลต์ ทองแดง เหล็กและโซเดียม ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหาร ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน และทำให้แผลหายเร็วขึ้น อาหารที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ บร็อคโคลี่ มันฝรั่ง พริกหวาน ผักโขม มะละกอ มะม่วง สตรอเบอร์รี่ ฝรั่ง ส้ม

วิตามิน E ทำงานได้ดีหากได้ร่วมกับแร่ธาตุ แคลเซียม เหล็ก แมงกานีส ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ซีลีเนียม โซเดียม และสังกะสี เป็นต้น เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี ช่วยป้องกันเซลล์ในร่างกายไม่ให้ถูกทำลาย พบมากในอะโวคาโด ถั่วต่าง ๆ เมล็ดทานตะวัน เนยถั่ว งา และน้ำมันสำหรับปรุงอาหารทุกชนิด

[perfectpullquote align=”full” bordertop=”false” cite=”” link=”” color=”#ff0000″ class=”” size=”20″]จะสังเกตได้ว่าในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะมีส่วนประกอบของวิตามินและแร่ธาตุร่วมด้วยเสมอ จากการที่แร่ธาตุช่วยส่งเสริมให้วิตามินมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ[/perfectpullquote]

3.โอเมก้า 3

โอเมก้า 3

โอเมก้า 3 (Omega 3) คือ จัดเป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องได้รับจากการรับประทานอาหารอื่น ๆจากพืชและสัตว์ เช่น ปลา น้ำมันพืช ถั่ว เมล็ดพืชต่าง ๆ หรือผักใบเขียว เป็นต้น มีจำเป็นต่อระบบการทำงานต่าง ๆ ภายในร่างกาย การขาดโอเมก้า 3 หรือได้รับไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อาจมีผิวหนังสาก หยาบ หรือมีลักษณะลอกเป็นเกล็ด รวมทั้งเกิดผื่นแดง บวม และทำให้เกิดอาการระคายเคือง

การขาดโอเมก้า 3 หรือ 6 ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพร่างกายตามมาได้  ไม่ว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า ลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคสมาธิสั้น อาการภูมิแพ้ของเด็ก และโรคซิสติกไฟโบรซิส ข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเลือด  อัลไซเมอร์ สมองเสื่อมได้ เป็นต้นค่ะ

About Author

เรียนรู้เพื่อแบ่งปัน

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top