ทำอย่างไร? ให้ชะลอโรคแพ็คเกจจากเบาหวาน

[perfectpullquote align=”full” bordertop=”false” cite=”” link=”” color=”#ff0000″ class=”” size=”22″]♥เบาหวาน ความดัน ไขมัน ไต หัวใจ หลอดเลือดสมองตีบตันแตกมาทำความรู้จักโรคแพคเกจ​กันค่ะ  [/perfectpullquote]

 

ไม่สำคัญว่าจะเป็นโรคไหนก่อน ที่สำคัญกว่าคือจะเป็นโรคไหนก่อน แล้วก็ทยอยตามๆกันมาเป็นของแถมค่า

จะช้า จะเร็วอยู่ที่ ใครให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพเข้มข้นกว่า​              

จินจะแชร์แบ่งปันวันนี้

เป็นการดูแลของญาติๆ ในการดูแลเบาหวานที่บ้าน เพื่อชะลอโรคแทรกซ้อนอื่นๆที่จะทะยอยๆตามมาให้ช้าที่สุด และมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามสมรรถนะของร่างกายค่ะ

วันนี้จินมีโอกาสได้พูดคุยและให้คำปรึกษาสุขภาพเบาหวาน และกำลังมีภาวะไตเริ่มเสื่อมตามมา ให้กับพี่สาวที่น่ารักและเคารพมาก 2 ท่านค่ะ อาการเดียวกันต่างที่คนหนึ่งเป็นคุณแม่ อีกคนเป็นคุณพ่อค่ะ

♥ทำไมเป็นเบาหวาน ชอบแถมด้วยโรคแพ็คเกจอื่นๆตามมาด้วย

เบาหวาน

จินขออธิบายแบบไม่เป็นทางการ​ แบบนี้ค่ะ​ ❤️​ ปกติแล้วเวลาที่เรากินอาหารเข้าไปจะผ่านกระบวนการย่อยจากกระเพราะอาหารและ เปลี่ยนรูปเป็นน้ำตาลกลูโคส      เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน และดูดซึมเข้าไปให้พลังงานกับเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย เมื่อเซลล์ได้รับพลังงาน  ก็จะทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างเยี่ยมค่ะ

โรคเบาหวาน เป็นภาวะเรื้อรังของการมีน้ำตาลในเลือดสูง มองภาพว่า เลือดเชื่อม เลือดหวาน เลือดซึ่งปกติก็มีเม็ดเลือด มีเกลือแร่วิตามินอื่นๆด้วย ประกอบกับน้ำตาลสูงๆ เลือดจะหนืดจะข้นขนาดไหน? ถ้าเลือดจะเปราะ ตีบ ตัน แตกก็คงเกิดขึ้นได้ กล้ามเนื้อหัวใจจะโตขึ้นจากการทำงานหนัก หลอดเลือดฝอยๆเล็กๆตัน ทำให้อวัยวะสำคัญๆๆเช่นไต หัวใจ สมองขาดเลือดไปเลี้ยงก็คงไม่ยากใช่ไหมคะ

[perfectpullquote align=”full” bordertop=”false” cite=”” link=”” color=”#ff0000″ class=”” size=”22″]เอาละค่ะ​ เรามาว่าเรื่องของการเป็นเบาหวาน​ แล้วจะชะลอภาวะแทรกซ้อนกันเลยดีกว่าค่ะ[/perfectpullquote]

จริงๆจะว่าไปชะลอภาวะแทรกซ้อน หรือโรคแพ็คเกจอื่นๆที่จะทะยอยๆ ตามๆ กันมา ถ้าให้อธิบายสั้นๆให้เห็นภาพก็คือ ให้เบาๆ หวาน เพื่อชะลอโรคแทรกซ้อน นั่นเองค่ะ

ผศ.พญ. พิมพ์ใจ อันทานนท์ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ได้เขียนบทความกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานไว้ว่า เป้าหมายหลักเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวจากเบาหวาน ทำได้โดยการควบคุมระดับน้ำตาล ในปัจจุบันระดับน้ำตาลที่เป็นเป้าหมายจะมีค่าที่เหมาะในผู้ป่วยแต่ละราย โดยขึ้นกับอายุ ระยะเวลาที่เป็น การมีโรคแทรกซ้อน ความเจ็บป่วยและโรคร่วม รวมถึงประวัติการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ ถ้าเป็นมาไม่นาน ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือโรคร่วม ควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงค่าปกติ หรือระดับ A1C < 6.5% (ถ้าเป็นไปได้)  หรือ < 7% ในขณะผู้ที่เป็นเบาหวานมานานและมีภาวะแทรกซ้อน หรือโรคร่วมหลายโรคที่รุนแรง เป้าหมายของระดับ A1C ประมาณ 7-8% ส่วนในผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปี ถ้าไม่มีโรคร่วม ควรควบคุมให้เป้าหมายของ A1C < 7% ถ้ามีโรคร่วมแต่ยังช่วยเหลือตัวเองได้ เป้าหมายของ A1C ควรอยู่ที่ 7-7.5% ถ้าเป็นผู้สูงอายุที่มีเปราะบาง อาจให้เป้าหมาย A1C สูงได้ถึง 8.5% ดังนั้นการตั้งเป้าหมาย A1C

อ่านเพิ่มเติมความรู้และพยาธิสภาพของโรค จากสมาคมโรคเบาหวาน ตามลิงค์นี้นะคะ https://www.dmthai.org/index.php/knowledge/for-normal-person/health-information-and-articles/health-information-and-articles-old-3/846-2019-04-20-01-49-18

แล้วจะต้องทำอย่างไร  เพื่อชะลอภาวะแทรกซ้อนระยะยาวจากเบาหวาน โดยการควบคุมระดับน้ำตาล ในปัจจุบัน

3 เรื่องหลักที่จะต้องให้ความเข้มข้นในการดูแลเบาหวาน

วันนี้ค้นหา 3 เรื่องหลักๆที่จะต้องให้ความเข้มข้นในการดูแลมาฝากค่ะ

1.เรื่องอาหาร 

ศึกษาเรื่องอาหารและโภชนาการของโรงพยาบาลราชวิถีตามลิ้งค์ที่จินแปะไว้ได้เลยค่ะ ดีมากๆ       

2.เรื่องการออกกำลังกาย

ศึกษาเรื่องการออกกำลังกายจากเว็บไซต์โรงพยาบาลศิริราช ตามลิงค์ได้เลยค่ะ https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/453

3.เรื่องการใช้ยาควบคุมระดับน้ำตาล

ศึกษาการกินยาเบาหวานอย่างไร ให้ถูกต้องจากเว็บไซต์มหาวิทยาลัยมหิดลคณะเภสัชวิทยา ตามลิ้งค์ได้เลยค่า

เอาละค่าา​ มาถึงตรงนี้แล้วว​ ท้ายสุดสุดท้ายการดูแลก่อนเจ็บป่วย​ ย่อมดีกว่านะค่ะ​ แต่จะถึงอย่างไร​ เมื่อเจ็บป่วยแล้วหากรู้วิธีการดูแลสุขภาพให้ชะลอภาวะเจ็บป่วยอื่นแทรกซ้อนตามมาได้​ ก็ถือว่าเจ๋งมากๆนะคะ

About Author

เรียนรู้เพื่อแบ่งปัน

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top