“ชาเขียว” เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีการผลิตในรูปแบบของเครื่องดื่มสำเร็จรูปกันอย่างแพร่หลายทำให้สะดวกต่อการบริโภค และด้วยรสชาติความอร่อยของชาเขียว แก้กระหายทำให้รู้สึกสดชื่น รวมไปถึงเทคนิคการโฆษณาผลิตภัณฑ์ หรือข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสรรพคุณของชาเขียวที่มีต่อร่างกาย เช่น ช่วยลดระดับไขมันในเลือด ลดความอ้วน และป้องกันโรคมะเร็ง เป็นต้น เป็นแรงจูงใจทำให้กระแสการบริโภคชาเขียวเพิ่มขึ้น แต่อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม จึงควรทราบถึงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย
สารสำคัญที่พบได้ในชาเขียวได้แก่ กรดอะมิโน วิตามิน B, C, E สารในกลุ่มแซนทีนอัลคาลอยด์ (xanthine alkaloids) คือ คาเฟอีน (caffeine) และธิโอฟิลลีน (theophylline) ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางส่งผลให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า และสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ที่เรียกว่า แคททีชิน (catechins) แคททีชินที่พบมากที่สุดคือ สารอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (epigallocatechin gallate) ซึ่งมีความสำคัญในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารต่างๆ ที่พบในชาเขียวมีผลในการยับยั้งภาวะโรคต่างๆ โดยมีงานวิจัยมากมายสนับสนุนว่าการดื่มชาเขียวมีประโยชน์ต่อร่างกาย หนึ่งในการศึกษาเกี่ยวกับการดื่มชาเขียวที่น่าสนใจคือ ผลที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่าง ๆ(1) จึงขอยกตัวอย่างงานวิจัยที่เชื่อมโยงกับเรื่องนี้มาอธิบายให้เช้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
ชาเขียว… เกี่ยวอะไรกับการป้องกันโรคมะเร็ง?
ภายในสารสำคัญกลุ่มโพลีฟีนอล (EGCG) ที่พบมากในชาเขียวนั้นมีส่วนสำคัญในการต่อต้านอนุมูลอิสระและมีส่วนช่วยในการปกป้องเซลล์ของร่างกายจากการทำลายของ DNA (Cell protection from DNA damage)ที่เกิดจากตัวการร้ายคือกลุ่มอนุมูลอิสระ หรือ reactive oxygen species(2) และนอกจากนั้นสารกลุ่ม Catechin ในชาเขียว ยังมีการศึกษาที่พบว่ามีส่วนช่วยในการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งอีกด้วย(3) และอีกกลไกหนึ่งที่สำคัญคือ ชาเขียวยังช่วยให้เอนไซม์ที่กระตุ้นให้กระบวนการ detox สารพิษในร่างกายทำงาน หนึ่งในเอนไซม์ที่รู้จักกันดี คือ เอนไซม์ Glutathione S-transferase(หรือกลูต้าไธโอนที่คุ้นหูกันดี) มีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ในร่างกายเราถูกพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็ง(4)
หนึ่งในการศึกษพบว่า ชาเขียวมีส่วนช่วยยับยั้งสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง
การศึกษาในผู้ชาย 52 คนอายุระหว่าง 20-51 ปี เพื่อศึกษาผลของชาเขียวต่อการป้องกันการเกิดกลายพันธุ์ของเซลล์จากควันบุหรี่ พบว่าความถี่ของการเกิดการกลายพันธุ์จากควันบุหรี่ของผู้ที่สูบบุหรี่และได้รับชาเขียวลดลงกว่าผู้ที่ไม่ได้รับชาเขียว(5)
สารกลุ่มโพลีฟีนอลที่สกัดจากชาเขียวมีส่วนช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
จากการศึกษาโดยทำในจานทดลองด้วยการเติมสารสกัดชาเขียว (โพลีฟีนอล 97% คาทีชิน 65%) ลงในจานทดลอง 3 ชุด และวางไว้ในอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 72 ชั่วโมง พบว่า
– จานทดลองที่ 1 เลี้ยงเซลล์ปกติ ไม่พบการเปลี่ยนแปลง จำนวนของเซลล์ ยังเติบโตอย่างปกติ
– จากทดลองที่ 2 เป็นเซลล์มะเร็ง BT-20 พบว่าเซลล์มะเร็งลดจำนวนลง
– จานทดลองที่ 3 เป็นเซลล์มะเร็ง Hela พบว่าเซลล์มะเร็งลดจำนวนลง
สรุป : สารกลุ่มโพลีฟีนอล (คาทีชิน) จากสารสกัดชาเขียวสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง (Hela, BT-20) ได้โดยไม่มีผลต่อการเจริญหรือสุขภาพของเซลล์ปกติ(6)
แล้วชาเขียวในรูปแบบไหนล่ะ ที่ดื่มแล้วจะได้ประโยชน์สูงสุด?
ที่น่าสังเกตคือรูปแบบการบริโภคชาเขียวตั้งแต่สมัยโบราณเป็นการบริโภคในรูปแบบการชงชาดื่มเองและไม่มีส่วนผสมของน้ำตาล ดังนั้นการดื่มชาเขียวที่ชงเองนอกจากจะได้รับรสชาติและกลิ่นหอมแท้จากชาเขียวแล้วยังได้รับประโยชน์จากสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีกว่าเครื่องดื่มชาเขียวสำเร็จรูปซึ่งจะมีส่วนผสมของน้ำตาลและมีปริมาณชาเขียวที่เจือจาง ชาเขียวร้อน 1 ถ้วยมี EGCG ประมาณ 100 – 200 มก. จากข้อมูลงานวิจัยความเป็นพิษของชาเขียวที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในแต่ละวันจึงไม่ควรดื่มเกิน 10 – 12 ถ้วย ทั้งนี้ชาเขียวยังมีคาเฟอีน การดื่มในปริมาณสูงอาจส่งผลให้นอนไม่หลับได้ ควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสมโดยการชงใบชา 1 – 2 ช้อนชาในน้ำร้อน วันละ 3 ถ้วย ในระหว่างมื้ออาหาร เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ และไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย (7)
สำหรับเครื่องดื่มชาเขียวสำเร็จรูปจะมีปริมาณใบชาที่น้อยมากจึงมีสารสำคัญน้อย ถ้าจะดื่มเพื่อที่จะได้รับประโยชน์จากสารโพลีฟีนอล EGCG อาจจะต้องดื่มหลายขวดต่อวัน ซึ่งแทนที่จะได้ประโยชน์อาจทำให้เสียสุขภาพเนื่องจากร่างกายได้รับปริมาณน้ำตาลที่เป็นส่วนผสมในชาเขียวสำเร็จรูปนั้นสูงเกินไป จึงไม่ควรดื่มชาเขียวสำเร็จรูปบ่อยจนเกินไป ดื่มเพื่อดับกระหายเพียง 1 – 2 ครั้งต่อวัน และไม่ควรดื่มติดต่อกันทุกวัน
หรือเลือกรับประทานทีกรีน 97 (120 แคปซูล) ผลิตภัณฑ์สารสกัดจากชาเขียวจากแหล่งใบชาเขียวที่ดีที่สุดในมณฑลเจ๋อเจียงประเทศจีน ใช้วิธีการเก็บและสกัดที่เฉพาะเพื่อให้ได้สารสำคัญ-โพลีฟีนอลในปริมาณสูง ที่สุดถึง 97% และปราศจากคาเฟอีน เพียงรับประทานวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1-2 แคปซูลจะได้ปริมาณสารสำคัญและประโยชน์จากสารโพลีฟีนอล EGCG ที่เหมาะสมและเพียงพอเพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพและไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย
เอกสารอ้างอิง
- Yuan JM. Cancer prevention by green tea: evidence from epidemiologic studies. Am J Clin Nutr. 2013 Dec; 98(6): 1676S-81S
- Henning SM, Niu Y, Lee NH, et al. Bioavailability and antioxidant activity of tea flavanols after consumption of green tea, black tea, or a green tea extract supplement. American Journal of Clinical Nutrition 2004; 80(6):1558–1564.
- Zaveri NT. Green tea and its polyphenolic catechins: Medicinal uses in cancer and noncancer applications. Life Sciences 2006; 78(18):2073–2080.
- Steele VE, Kelloff GJ, Balentine D, et al. Comparative chemopreventive mechanisms of green tea, black tea and selected polyphenol extracts measured by in vitro bioassays. Carcinogenesis 2000; 21(1):63–67.
- Lee IP, Kim YH,Kang MH,Roberts C, Shim JS,Roh JK. Chemopreventive effect of green tea against cigarette smoked-induces mutation (SCE) in humans.J Cllular Biocemistry supplement 1997;27:68-75
- Marre J.Bridge A Wu LY,Marre DM.Prefrential inhibition by (-)-Epigallocatechin-3-gallate of the cell surface NADH oxidase and growth of transformed cells in culture.Biochemival Pharmacology 2000;60:937-946
- วรนันท์ ศุภพิพัฒน์. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับชาเขียว สารออกฤทธิ์ที่สำคัญ และปริมาณการบริโภคที่เหมาะสม, สรุปการประชุม/สัมมนาเรื่อง การดื่มชาเขียวในประเทศไทย; สิงหาคม 2548; สภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวทท).
Pingback: 8 อาหารต้านริ้วรอย แก่ก่อนวัย
Pingback: 5 อาหารต้านการอักเสบ