โรคหลอดเลือด

Metabolic syndrome

Metabolic Syndrome ภัยเงียบสุขภาพ

Metabolic Syndrome

เอวหนา ลงพุง
อันตรายกว่าใส่เสื้อผ้าไม่สวย..

เพราะคุณอาจกำลังเกิดภาวะล้มเหลวของกระบวนการจัดการสารอาหารภายในหลอดเลือด หรือ Metabolic Syndrome

Metabolic​ Syndrome นำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรังที่ตามมา มีอะไรบ้าง?

ความดัน เบาหวาน ไขมัน ซึ่งเป็นสาเหตุการก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไต อัมพฤกษ์อัมพาต ตามมาได้ที่เราจะคุ้นเคยกับการได้ยินเกี่ยวกับการเกิดโรคกลุ่ม NCDs หรือบางคนเรียกกลุ่มโรคแพคเกจ เบาหวาน ความดัน ไขมัน ความดันโลหิตสูง หัวใจ และโรคไตโรคไหนเริ่มก่อน ไม่นานก็เรียกเพื่อนตามๆมา ว่าสาเหตุหลักมาจากพันธุกรรม บวกกับพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกายและการใช้ชีวิต

Metabolic Syndrome

แต่ในสภาวะปัจจุบัน​ของคนส่วนมากพบการเกิดโรค NCDs ได้แม้ไม่มีประวัติของคนในครอบครัวเป็นโรคเรื้อรังมาก่อน  แต่สาเหตุเกิดจากการเกิดภาวะ Metabolic Syndrome​โดยไม่ทันได้รู้ตัวจากวิถีการใช้ชีวิตการกิน การนอนหลับพักผ่อนไม่เป็นเวลา  ภาวะความเครียด นอนดึก ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เป็นต้นค่ะ

จะป้องกันการเกิด Metabolic Syndrome จะทำได้อย่างไร?

ก่อนอื่นอยากให้เข้าใจกระบวน Metabolism​ ซึ่งเป็นกระบวนการปกติของร่างกาย นั่นคือการนำเอาสารอาหารจากหลอดเลือด ไปใช้ประโยชน์ในเซลล์ อยากให้มองเห็นภาพนี้ค่ะว่า เวลาที่เราทานอาหาร เครื่องดื่มอะไรต่างๆเข้าไปในร่างกาย เริ่มจากการเคี้ยว กลื่นเข้าไปย่อยต่อในกระเพาะอาหาร เริ่มกระบวนการดูดซึมสารอาหารเข้าหลอดเลือดบริเวณกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ในรูปแบบสารเคมีต่างๆ น้ำตาล ไขมัน เกลือแร่ โดยกระบวนการ Metabolism จะเข้าไปจัดการสารอาหารในหลอดเลือดให้เปลี่ยนเป็นพลังงานให้กับร่างกายและในกระบวนการ Metabolism​ เองก็จะเกิดของเสียที่ตามมาด้วย

จะรู้ได้อย่างไร? ว่าเสี่ยงต่อภาวะเมแทบอลิกซินโดรม

สาเหตุหลักๆ ของคนที่มีแนวโน้มในการเกิดภาวะเมตาบอลิกซินโดรม ก็คือ อ้วนลงพุง รอบเอวหนา และภาวะการดื้อต่ออินซูลินจะพบมากในคนอ้วนลงพุง หรือได้รับยา, ฮอร์โมนบางชนิดค่ะ

metabolic syndrome

ในที่นี้ขอใช้เกณฑ์ของ The National Cholesterol Education Program Adult Treatment Panel III (NCEP ATP III) (2005)
ตามโรงพยาบาลกรุงเทพได้เขียนบทความเผยแพร่ลงในเว็บไซต์ของโรงพยาบาลเอง

เพื่อให้ง่ายต่อการประเมิน
โดยต้องมีความผิดปกติ 3 ใน 5 ข้อ ได้แก่
1.ความยาวรอบเอว
ชาย ≥ 36 นิ้ว = 90 เซนติเมตร
และหญิง ≥ 32 นิ้ว = 80 เซนติเมตร

2.ระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร ≥ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน

3.ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ≥ 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

4.ระดับ HDL คอเลสเตอรอล < 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในเพศชาย และ < 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในเพศหญิง

5.ระดับความดันโลหิต ≥ 130/85 มิลลิเมตรปรอท หรือได้รับยารักษาภาวะความดันโลหิตสูง

ความน่ากลัวของโรค เมแทบอลิกซินโดรม

กล่าวคือ เป็นโรคที่เป็นภัยเงียบ ไม่มีอาการบ่งชี้ล่วงหน้า จะรู้ตัวก็ต่อเมื่อมีอาการของหลอดเลือดอุดตันแล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่มีอาการของโรคร้ายแรงอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น เช่น หลอดเลือดสมองอุดตัน อัมพฤกษ์ หัวใจวาย หรืออาการผิดปกติอื่นๆ ตามแต่ตำแหน่งที่หลอดเลือดอุดตัน

ภาวะเมแทบอลิกซินโดรม
สามารถป้องกันตัวเองได้ เริ่มที่ลดความเสี่ยงของการเกิดโรค โดยการปรับพฤติกรรม
ที่ก่อให้เกิดโรคอ้วนลงพุง อันดับต้นๆได้
แนะนำให้ทำเลยค่ะ โดยเริ่มที่

1.เรื่องการกินอาหาร
เลี่ยงหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก ผลไม้หลากหลายสี เน้นกากใยสูงในมื้ออาหาร

2.การออกกำลังกาย
ช่วยเสริม เพิ่มกำลัง Metabolism กระบวนเตาเผาอาหารและการจัดการสารอาหารในหลอดเลือดของร่างกาย

3.การนอนหลับ​พักผ่อนเพียงพอ

4.เลี่ยงการสูบบุหรี่​ดื่มสุรา

5.การตรวจสุขภาพประจำปีค่ะ

การป้องกัน ย่อมดีกว่ามานั่งรักษาอาการเจ็บป่วยเรื้อรังที่หลังนะคะ
เริ่มที่วันนี้ตัดสินใจเข้ารับผิดชอบสุขภาพร่างกายของตัวเองก่อนได้เลยค่ะ

ด้วยรักและปรารถนาดี
ด้วยความห่วงใยค่า

MeHealth​ ​สุขภาพดีเริ่มที่ตัวเรา
ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยือนค่ะ

@Line เพื่อสอบถามพูดคุยกันได้ที่

เพิ่มเพื่อน

Metabolic Syndrome ภัยเงียบสุขภาพ Read More »

ดูแลสุขภาพ

3 พื้นฐานการดูแลสุขภาพ ต้องใส่ใจ ไม่ให้ขาดสมดุล

พื้นฐานการดูแลสุขภาพ

ถ้าพูดถึงการดูแลสุขภาพ คงต้องแบ่งการดูแลสุขภาพออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือก่อนเจ็บป่วย และหลังเจ็บป่วยแล้ว การดูแลสุขภาพของแต่ละช่วงก็คงไม่เหมือนกันวัตถุประสงค์ของการดูแลสุภาพก็ต่างกัน

3 พื้นฐานการดูแลสุขภาพ ต้องใส่ใจ ไม่ให้ขาดสมดุล Read More »

เหนื่อยล้า

9 สาเหตุความเหนื่อยล้าที่ควรรีบแก้ไข

9 สาเหตุความเหนื่อยล้าที่ควรรีบแก้ไข

เหนื่อยล้า

ความเหนื่อยล้าเป็นสิ่งที่เราๆทุกคนต้องเจอ แต่รู้หรือไม่ว่าสาเหตุเหล่านั้น อาจมิได้เกิดจากการทำงานหนักเพียงอย่างเดียว ยังมีอีกหลายๆปัจจัยที่ควรรู้เพื่อเร่งแก้ไข เพราะมิฉะนั้นอาจทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายอีกด้วย เรามาดูกันนะคะว่ามีสาเหตุอะไรบ้าง

สาเหตุที่ 1: พักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอ

นอนไม่เพียงพอ

อาจจะด้วยหลายๆปัจจัยที่แตกต่างกัน ซึ่งต้องสำรวจดูกิจกรรมก่อนนอนว่าอะไรคือกิจกรรมที่ทำให้เรานอนดึก การนอนน้อยเกินไป นั่นอาจส่งผลเสียต่อสมาธิและสุขภาพของคุณได้ แล้วเราควรจะนอนกี่ชั่วโมงกันดี  ผู้ใหญ่ควรได้รับเจ็ดถึงเก้าชั่วโมงทุกคืน

การแก้ไข:

[perfectpullquote align=”full” bordertop=”false” cite=”” link=”” color=”#ff0000″ class=”” size=”20″]ควรให้ความสำคัญกับการนอนหลับและจัดตารางเวลาให้สม่ำเสมอ ห้ามใช้แล็ปท็อป,โทรศัพท์มือถือและโทรทัศน์ก่อนนอน หากยังคงปัญหากับการนอน ควรขอความช่วยเหลือจากแพทย์[/perfectpullquote]

สาเหตุที่ 2: การหยุดหายใจขณะหลับ

หยุดหายใจขณะหลับ

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภัยเงียบที่อาจส่งผลถึงชีวิต บางคนคิดว่าพวกเขากำลังนอนหลับเพียงพอ แต่การหยุดหายใจชั่วขณะตลอดทั้งคืน หรือการหยุดชะงักแต่ละครั้งจะทำให้คุณตื่นขึ้นมาชั่วขณะ แต่คุณอาจไม่รู้ตัว ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น : คุณอดนอนแม้ว่าจะใช้เวลาอยู่บนเตียงแปดชั่วโมงก็ตาม เมื่อตื่นขึ้นมาอาจมีอาการร่างกายไม่สดชื่น ปวดศรีษะ

การแก้ไข:

[perfectpullquote align=”full” bordertop=”false” cite=”” link=”” color=”#ff0000″ class=”” size=”20″]หากคุณมีน้ำหนักเกิน คุณควรลดน้ำหนัก,เลิกสูบบุหรี่และคุณอาจต้องใช้อุปกรณ์ CPAP เพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจของคุณเปิดในขณะที่คุณนอนหลับ[/perfectpullquote]

สาเหตุที่ 3: กินไม่พอพลังงานถดถอย

กินน้อย

การกินน้อยเกินไปจะส่งผลทำให้ร่างกายอ่อนเพลียอ่อนเพลีย แต่การกินอาหารที่ไม่ถูกต้อง กินมากเกินไปก็อาจเป็นปัญหาได้เช่นกัน การรับประทานอาหารที่สมดุลจะช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติและป้องกันความรู้สึกเฉื่อยชาเมื่อน้ำตาลในเลือดลดลง

การแก้ไข:

[perfectpullquote align=”full” bordertop=”false” cite=”” link=”” color=”#ff0000″ class=”” size=”20″]กินอาหารเช้าเสมอและพยายามรวมโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนในทุกมื้อ ตัวอย่างเช่นกินไข่กับขนมปังโฮลเกรน รับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ และของว่างตลอดทั้งวันเพื่อพลังงานที่ยั่งยืน[/perfectpullquote]

สาเหตุที่ 4: โรคโลหิตจาง

ธาตุเหล็ก

โรคโลหิตจางเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของผู้หญิง การสูญเสียเลือดประจำเดือนนั้น อาจทำให้เกิดการขาดธาตุเหล็กทำให้ผู้หญิงมีความเสี่ยง เซลล์เม็ดเลือดแดงเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากเม็ดเลือดแดงนั้นจะนำพาออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อและอวัยวะของคุณ

การแก้ไข:

[perfectpullquote align=”full” bordertop=”false” cite=”” link=”” color=”#ff0000″ class=”” size=”20″]สำหรับโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก การเสริมธาตุเหล็กและการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กเช่นเนื้อไม่ติดมัน,ตับ,หอย,ถั่วและธัญพืชที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จะสามารถช่วยคุณได้[/perfectpullquote]

สาเหตุที่ 5: ไฮโปไทรอยด์

ไฮโปไทรอยด์

ไทรอยด์เป็นต่อมเล็ก ๆ ที่ฐานคอของคุณ มันควบคุมการเผาผลาญของคุณซึ่งเป็นความเร็วที่ร่างกายของคุณเปลี่ยนเชื้อเพลิงเป็นพลังงาน เมื่อต่อมไม่ทำงานและการเผาผลาญทำงานช้าเกินไปคุณอาจรู้สึกเฉื่อยชาและมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น

การแก้ไข:

[perfectpullquote align=”full” bordertop=”false” cite=”” link=”” color=”#ff0000″ class=”” size=”20″]หากการตรวจเลือดยืนยันว่าฮอร์โมนไทรอยด์ของคุณอยู่ในระดับต่ำ  ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับฮอร์โมนสังเคราะห์ ซึ่งสามารถทำให้คุณมีความรู้สึกรวดเร็วขึ้นมาได้[/perfectpullquote]

สาเหตุที่ 6: คาเฟอีนเกินพิกัด

ดื่มกาแฟ

ความเข้มข้นในปริมาณปานกลางของคาเฟอีนสามารถเพิ่มความตื่นตัว แต่มากเกินไปอาจเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตและความกระวนกระวายใจ และในการวิจัยระบุว่า คาเฟอีนที่มากเกินไปทำให้เกิดความเหนื่อยล้าในบางคน

การแก้ไข:

[perfectpullquote align=”full” bordertop=”false” cite=”” link=”” color=”#ff0000″ class=”” size=”20″]ค่อยๆลดกาแฟ,ชา,ช็อคโกแลต,น้ำอัดลมและยาที่มีคาเฟอีน การหยุดกะทันหันอาจทำให้เกิดการถอนคาเฟอีนและอ่อนเพลียมากขึ้น[/perfectpullquote]

สาเหตุที่ 7: โรคเบาหวาน

ตรวจเบาหวาน

ในผู้ป่วยเบาหวานระดับน้ำตาลที่สูงผิดปกติจะยังคงอยู่ในกระแสเลือดแทนที่จะเข้าสู่เซลล์ของร่างกายซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงาน ผลที่ได้คือร่างกายหมดไอน้ำทั้งๆที่ยังพอกิน หากคุณมีอาการอ่อนเพลียอย่างต่อเนื่องและไม่สามารถอธิบายได้ให้ปรึกษาแพทย์ของคุณเกี่ยวกับการเข้ารับการตรวจเบาหวาน

การแก้ไข:

[perfectpullquote align=”full” bordertop=”false” cite=”” link=”” color=”#ff0000″ class=”” size=”20″]เริ่มต้นด้วยการรักษาโรคเบาหวานอาจรวมถึงการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเช่นการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายการบำบัดด้วยอินซูลินและยาเพื่อช่วยให้ร่างกายประมวลผลน้ำตาลได้อย่างถูกต้อง[/perfectpullquote]

สาเหตุที่ 8:การขาดน้ำ

อาการขาดน้ำ

ความเหนื่อยล้าของคุณอาจเป็นสัญญาณของการขาดน้ำ ไม่ว่าคุณจะออกกำลังกายหรือทำงานนั่งโต๊ะร่างกายของคุณต้องการน้ำ เพื่อให้ร่างกายทำงานได้ดีและเย็นอยู่เสมอ หากคุณกระหายน้ำแสดงว่าคุณขาดน้ำแล้ว

การแก้ไข:

[perfectpullquote align=”full” bordertop=”false” cite=”” link=”” color=”#ff0000″ class=”” size=”20″]อย่าปล่อยให้รา่งกายหิวกระหายน้ำ ควรดื่มน้ำตลอดทั้งวันเพื่อให้ปัสสาวะของคุณมีสีอ่อน ดื่มน้ำอย่างน้อยสองถ้วยต่อชั่วโมงหรือมากกว่านั้นก่อนออกกำลังกายตามแผน จากนั้นจิบตลอดการออกกำลังกายและหลังจากนั้นดื่มอีกสองถ้วย[/perfectpullquote]

สาเหตุที่ 9: ความผิดปกติของการนอนหลับจากการทำงานกะ

ทำงานกะกลางคืน

การทำงานในเวลากลางคืนหรือการหมุนเวียนกะ อาจทำให้นาฬิกาชีวิตภายในร่างกายของคุณเสียได้ คุณอาจรู้สึกเหนื่อยเมื่อต้องตื่น และคุณอาจมีปัญหาในการนอนหลับระหว่างวัน

การแก้ไข:

[perfectpullquote align=”full” bordertop=”false” cite=”” link=”” color=”#ff0000″ class=”” size=”20″]ในระหว่างการนอนควรจำกัด การเปิดรับแสงของคุณในเวลากลางวันเมื่อคุณต้องการพักผ่อน ทำให้ห้องของคุณมืดเงียบและเย็นสบาย หากยังคงมีปัญหาในการนอนหลับ ปรึกษาแพทย์. อาหารเสริมและยาอาจช่วยได้[/perfectpullquote]

 

9 สาเหตุความเหนื่อยล้าที่ควรรีบแก้ไข Read More »

ประโยชน์ของถั่วอะซูกิ

9 ประโยชน์ของถั่วอะซูกิ

9 ประโยชน์ของถั่วอะซูกิ

9 ประโยชน์ของถั่วอะซูกิ

ถั่วอะซูกิหรือถั่วแดงญี่ปุ่น (Azuki beans ,Adzuki beans)

ถั่วแดงมีอยู่หลายชนิดแต่ที่นิยมปลูกในประเทศไทย ก็เห็นจะมี ถั่วแดงหลวง ,ถั่วนิ้วนาง,ถั่วอะซูกิ…แต่วันนี้ขอแนะนำเอา ถั่วอะซูกิ มาให้ผู้อ่านได้รับชมกันนะคะ …

9 ประโยชน์ของถั่วอะซูกิ Read More »

ประโยชน์ของถั่วต่อสุขภาพ

9 ประโยชน์เน้นๆของถั่วที่คุณควรหามารับประทาน

หลายคนทราบดีว่าถั่วนั้นอุดมไปด้วยคุณค่าและสารอาหารที่มีมากคุณค่า แต่หลังจากที่จินได้เข้าไปอ่านงานวิจัยของ หอสมุดแห่งชาติแพทยศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา แล้วนั้นก็ยิ่งว้าววว …

9 ประโยชน์เน้นๆของถั่วที่คุณควรหามารับประทาน Read More »

diabetes

ทำอย่างไร? ให้ชะลอโรคแพ็คเกจจากเบาหวาน

ทำอย่างไร? ให้ชะลอโรคแพ็คเกจจากเบาหวาน

[perfectpullquote align=”full” bordertop=”false” cite=”” link=”” color=”#ff0000″ class=”” size=”22″]♥เบาหวาน ความดัน ไขมัน ไต หัวใจ หลอดเลือดสมองตีบตันแตกมาทำความรู้จักโรคแพคเกจ​กันค่ะ  [/perfectpullquote]

 

ไม่สำคัญว่าจะเป็นโรคไหนก่อน ที่สำคัญกว่าคือจะเป็นโรคไหนก่อน แล้วก็ทยอยตามๆกันมาเป็นของแถมค่า

จะช้า จะเร็วอยู่ที่ ใครให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพเข้มข้นกว่า​              

ทำอย่างไร? ให้ชะลอโรคแพ็คเกจจากเบาหวาน Read More »

food-fried-dangerous

ของทอด อร่อยอันตราย จากน้ำมันใช้ซ้ำ

ของทอด อร่อยอันตราย จากน้ำมันใช้ซ้ำ

ของทอด

[perfectpullquote align=”full” bordertop=”false” cite=”” link=”” color=”#ff0000″ class=”” size=”28″]

น้ำมันใช้ซ้ำ!!

น่ากลัวกว่าที่คิด​ มะเร็ง​ หัวใจ​ ไขมัน​หลอดเลือด​เป็นของแถมเพียบ

[/perfectpullquote]

เขียนไป..
หลอนไป​ ยิ่งหาข้อมูลยิ่งกลัวอ่าาาาา
#เราทำเองกินเองลูกกินสามีกินพ่อแม่กิน​ บรึ๋ยยย

ของทอด อร่อยอันตราย จากน้ำมันใช้ซ้ำ Read More »

Scroll to Top